1. Skip to Menu
  2. Skip to Content
  3. Skip to Footer>

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่



อาการไข้หวัดใหญ่ 2009 

ในคนนั้นมีอาการคล้ายกันกับอาการของคนที่เป็นหวัดปกติ และมีอาการต่อไปนี้คือ มีไข้ ท้องเสีย เจ็บคอ  ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดศรีษะ หนาว และ ไม่มีเรี่ยวแรง อ่อนล้า ร่วมด้วย ในบางคนมีอาการท้องเสียร่วมกับอาเจียน  และในอดีตมีรายงานว่าผู้ป่วยหลายคนมีอาการรุนแรงถึงขั้นเป็นปอดบวม และ ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด เช่นเดียวกันกับหวัด ที่ไข้หวัดใหญ่ 2009 อาจจะแย่ลงจนต้องมีสภาพการเรื้อรัง

ผู้ที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ควรได้รับการพิจารณาถึงศักยภาพในการติดเชื้อ ไข้หวัดใหญ่ 2009 ระยะเวลาความยาวนานของการฟักเชื้อจนมีอาการ  และความเป็นไปได้ของอาการป่วยที่ยาวนานถึง 7 วัน เด็กๆ โดยเฉพาะเด็กเล็กอาจได้รับเชื้อเป็นเวลานาน


ใครบ้างที่ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

วัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถฉีดได้ทุกอายุ ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป จนถึงผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ รวมถึงหญิงที่กำลังให้นมลูกก็สามารถรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ โดยไม่ได้เน้นว่าจะต้องเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนเท่านั้น วัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถฉีดได้ทุกปี แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพอยู่แล้วยิ่งสมควรได้รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี


ทำไมถึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี

เหตุผลที่ควรต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี เพราะภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีต่อเชื้อไข้หวัดใหญ่ ไม่ว่าจะจากการฉีดวัคซีนหรือจากการเจ็บป่วยจากเชื้อธรรมชาตินั้นคงอยู่ไม่นานและมักจะลดต่ำลงได้ในระยะเวลาไม่กี่เดือนหรือปี การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปีจึงเป็นการกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันต่อไข้หวัดใหญ่มีระดับที่สูงอยู่ตลอดเวลาสำหรับรับมือกับเชื้อที่จะเข้ามาสู่ร่างกายของเรา รวมถึงเชื้อไข้หวัดใหญ่มักมีการกลายพันธุ์ได้ในช่วงระยะเวลาไม่นาน วัคซีนที่ฉีดทุกปีจะมีองค์ประกอบของเชื้อที่อยู่ในวัคซีนซึ่งปรับเปลี่ยนไปตามฤดูกาลปัจจุบัน ดังนั้นการฉีดวัคซีนทุกปีจึงช่วยให้ภูมิคุ้มกันต่อไข้หวัดใหญ่ได้มีการปรับให้เหมาะสมกับเชื้อที่มาใหม่แต่ละปีด้วย

ใครบ้างที่จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สมควรเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคเอดส์ โรคมะเร็ง และได้รับยาสเตียรอยด์หรือยาแอสไพรินต่อเนื่องนานๆ จากโรคที่กำลังรักษาอยู่โรคตับโรคไตโรคเบาหวานและโรคที่มีความผิดปกติของฮอร์โมนอื่นๆโรคเลือดโรคหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบโรคปอดเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอดโรคทางสมอง เช่น โรคลมชัก พิการทางสมอง อัมพาต อัมพฤกษ์ ปัญญาอ่อน โรคของกล้ามเนื้อและไขสันหลัง ฯลฯโรคหอบหืดผู้ที่มีโรคประจำตัวหลายอย่าง เช่นหญิงตั้งครรภ์ผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปีกลุ่มคนที่จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนที่มีอันตรายได้ง่าย ซึ่งสมควรเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้แก่โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคเอดส์ โรคมะเร็ง และได้รับยาสเตียรอยด์หรือยาแอสไพรินต่อเนื่องนานๆ จากโรคที่กำลังรักษาอยู่โรคตับโรคไตโรคเบาหวานและโรคที่มีความผิดปกติของฮอร์โมนอื่นๆโรคเลือดโรคหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบโรคปอดเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอดโรคทางสมอง เช่น โรคลมชัก พิการทางสมอง อัมพาต อัมพฤกษ์ ปัญญาอ่อน โรคของกล้ามเนื้อและไขสันหลัง ฯลฯโรคหอบหืดผู้ที่มีโรคประจำตัวหลายอย่าง เช่นหญิงตั้งครรภ์



องค์การอนามัยโลกมีเกณฑ์การคัดเลือกสายพันธุ์เชื้อไข้หวัดใหญ่ที่มาทำเป็นวัคซีนในแต่ละปีอย่างไร


ผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลกได้คัดเลือกสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่นำมาใช้ในวัคซีนปี ค.ศ.2012-2013 สำหรับในฤดูหนาวของซีกโลกทางเหนือ จำนวน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ A/California/7/2009 (H1N1)pdm09-like virus, A/Victoria/361/2011(H3N2)-like virus และ B/Wisconsin/1/2010-like virus ซึ่งองค์ประกอบของเชื้อจะแตกต่างจากวัคซีนของปี ค.ศ.2011-2012 จำนวน 2 ใน 3 เชื้อ ดังนั้น ผู้ที่ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ของปีที่แล้ว ควรพิจารณาเข้ารับการฉีดวัคซีนของปี ค.ศ.2012-2013 นี้ เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการป้องกันเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/H3N2/Victoria และ B/Wisconsin ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้
ข้อมูลวัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับปี ค.ศ.2012-2013 สำหรับประเทศไทยอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร จะใช้วัคซีนของทางซีกโลกเหนือหรือใต้ก็ได้ ขึ้นกับช่วงเวลาที่ต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่มีในตอนนั้น เนื่องจากพบมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่กระจายไปเรื่อยๆ เกือบตลอดทั้งปี ไม่ได้จำกัดว่าจะเกิดการระบาดเฉพาะในหน้าฝนเท่านั้น หลังจากนั้นผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลกและของแต่ละประเทศจะมีการประชุมประเมินสถานการณ์การระบาดในแต่ละช่วงเวลาฤดูกาล และให้คำแนะนำถึงเชื้อที่จะใช้ในวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ซึ่งโดยปกติข้อแนะนำนี้จะออกมาปีละ 2 ครั้งเพื่อให้เหมาะสมกับฤดูกาลของแต่ละซีกโลก คือ ซีกโลกทางเหนือ (Northern Hemisphere) และซีกโลกทางใต้ (Southern Hemisphere) ในปัจจุบันองค์การอนามัยโลกมีศูนย์เฝ้าระวังและติดตามการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่และเชื้อโรคใหม่ๆ ที่อาจทำให้เกิดการระบาดที่เป็นอันตรายแก่ประชากรโลกอยู่ตามประเทศต่างๆ มากกว่า 100 ศูนย์ทั่วโลก ซึ่งจะมีการเก็บตัวอย่างเชื้อและรายละเอียดของการเจ็บป่วยด้วยอาการต่างๆ ของผู้ป่วยอย่างเป็นระบบตามหลักการด้านระบาดวิทยาอยู่ตลอดเวลา และดำเนินเรื่องส่งต่อไปยังศูนย์ใหญ่ที่อยู่ในแต่ละภูมิภาคของโลก ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และจีน เพื่อเป็นฐานข้อมูลอย่างละเอียดของเชื้อไวรัสชนิดต่างๆ ที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วย เพื่อให้สามารถเตรียมรับมือกับปัญหาการระบาดของเชื้อเหล่านี้ได้ทันท่วงทีหากมีการระบาดเกิดขึ้นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคเอดส์ โรคมะเร็ง และได้รับยาสเตียรอยด์หรือยาแอสไพรินต่อเนื่องนานๆ จากโรคที่กำลังรักษาอยู่โรคตับโรคไตโรคเบาหวานและโรคที่มีความผิดปกติของฮอร์โมนอื่นๆโรคเลือดโรคหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบโรคปอดเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอดโรคทางสมอง เช่น โรคลมชัก พิการทางสมอง อัมพาต อัมพฤกษ์ ปัญญาอ่อน โรคของกล้ามเนื้อและไขสันหลัง ฯลฯโรคหอบหืดผู้ที่มีโรคประจำตัวหลายอย่าง เช่นหญิงตั้งครรภ์ทั้งนี้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) ได้ติดตามและประเมินว่าการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถลดการเจ็บป่วยที่ทำให้ต้องไปพบแพทย์ลงได้ถึง 60% เช่นเดียวกับการศึกษาหลายรายงานที่ทำมาในปีก่อนๆ ก็สนับสนุนประสิทธิภาพของวัคซีนนี้ แม้ว่าจะไม่ได้สูงถึง 100% แต่ก็พบว่าสามารถลดอัตราการเจ็บป่วย ลดปัญหาแทรกซ้อน และลดการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็น รวมถึงลดการขาดเรียน ขาดงาน การเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล และการเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ได้อย่างชัดเจน

  กองสาธารณสุขฯ



Secured by Siteground Web Hosting