1. Skip to Menu
  2. Skip to Content
  3. Skip to Footer>

ท่านอนปลอดโรค




การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก แต่ถ้าการนอนของคุณอยู่ในสภาพแวดล้อม

ที่ไม่ดี หรืออยู่ในท่านอนที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดโรคได้ อยากรู้แล้วใช่ไหมว่าท่านอนแต่ละท่ามีความเสี่ยง

ต่อการเกิดโรคอะไรบ้าง

นอนตะแคงขวา เป็นท่านอนที่ดีที่สุดถ้าเทียบกับการนอนหลับในท่าอื่นๆ เพราะหัวใจเต้นสะดวกและอาหารจากกระเพาะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ทำให้ไม่คั่งค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานเกินไป และเป็นท่านอนที่ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้ แต่ข้อเสียคืออาจทำให้เจ็บปวดหัวไหล่ขวา ปวดคอถ้าใช้หมอนต่ำเกินไป หายใจไม่สะดวก ถ้าปอดข้างซ้ายมีปัญหา และขาข้างขวาถูกทับจนชาได้


นอนตะแคงซ้าย เป็นท่านอนที่ช่วยลดอาการปวดหลังได้ ควรมีหมอนข้างให้กอดและพาดขา แต่ข้อเสียของการนอนท่านี้ทำให้หัวใจซึ่งอยู่ด้านซ้ายเต้นลำบาก คนที่มีโรคปอดข้างขวาก็จะหายใจไม่สะดวก เพราะว่าปอดข้างซ้ายที่เป็นปกติขยายตัวได้ไม่เต็มที่ และถ้าอาหารในกระเพาะยังย่อยไม่หมดก่อนเข้านอนก็จะคั่งอยู่ในกระเพาะทำให้เกิดลมจุกเสียดที่กระดูกลิ้นปี่ได้ ซึ่งเป็นตำแหน่งของกระเพาะข้างซ้ายที่ติดขัดอาจเจ็บปวดจากการนอนทับเป็นเวลานาน


นอนหงาย เป็นท่านอนที่คนนิยมกันที่สุด ข้อดีคือต้นคอจะอยู่ในแนวเดียวกับร่างกาย แต่คนที่ความดันสูงอาจหายใจลำบาก โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคหัวใจ เพราะไม่สามารถสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจได้ เกิดภาวะหายใจติดขัด คนที่เป็นโรคหัวใจจะต้องลุกขึ้นนั่งหรือยืนจึงหายใจสะดวกขึ้น


นอนคว่ำ แน่นอนว่าจะทำให้คุณหายใจไม่สะดวก แถมปวดต้นคออีกด้วย เนื่องจากต้องเงยมาข้างหลัง หรือบิดหมุนไปข้างซ้ายหรือขวานานเกินไป ถ้าจำเป็นต้องนอนคว่ำควรหาหมอนรองใต้ท้องหรือใต้ทรวงอก เพื่อไม่ให้เมื่อยคอค่ะ


นอนดิ้น เป็นท่านอนที่ดีสำหรับผู้ใหญ่ เนื่องจากได้ปรับท่านอนไปเรื่อยๆ ตลอดเวลาของการนอนหลับหลายชั่วโมง แต่เมื่ออายุเพิ่มขึ้น สังเกตไหมว่าเราจะนอนดิ้นน้อยลง หลับท่าใดก็มักจะตื่นขึ้นมาในท่านั้น จึงทำให้เกิดอาการชาของแขนขาได้ หรืออาจจะหายใจไม่สะดวก เพราะฉะนั้นถ้ารู้สึกตัวก็พลิกตัวบ้างนะคะ


นอนในท่านั่ง การนอนในลักษณะที่ยังนั่งอยู่นั้น อันดับแรกเลยคือทำให้เกิดอาการปวดต้นคอ ปวดหลัง และเจ็บก้นกบ บางคนอาจจะห้อยแขนลงจากพนักพิงของเก้าอี้ โดยรักแร้วางทับอยู่กับสันของพนักเก้าอี้ เมื่อตื่นขึ้นมาจะพบว่าแขนชาจนไม่มีความรู้สึก บางครั้งอาจจะยกแขนไม่ขึ้นเป็นเวลาหลายวัน เพราะกดถูกหลอดเลือดและเส้นประสาทใต้รักแร้ ทำให้แขนข้างนั้นอ่อนแรงลง และสูญเสียความรู้สึก บางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเป็นอัมพาต เพราะฉะนั้นคราวหน้าอย่านั่งหลับบนเก้าอี้อีกนะคะ



  สำนักปลัดฯ



Secured by Siteground Web Hosting