1. Skip to Menu
  2. Skip to Content
  3. Skip to Footer>

วัดผาสุการาม

ตั้งอยู่ที่
- ตำบลวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เดิมเรียกว่า วัดบ้านดง เพราะมีป่าดงพงไพรมาก จึงเรียกตามภูมิประเทศ ต่อมา พ.ศ. 2507 สมเด็จพระมหาวีรวงค์ (ติสฺโสอ้วน) ได้เปลี่ยนชื่อใหม่มาเป็น วัดผาสุการาม เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2507 ได้รับพระราชทานเป็นวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2510

ประวัติ วัดผาสุการาม
    ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2490 โดยนายวิบูลย์เดช สุวรรณมูล นายเปีย บุญศรีดา นายเล็ก วิเศษรอด พร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกาชาวบ้านดง จับจองที่ดินบูรณะ มีเนื้อที่จำนวน 24 ไร่ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอวารินชำราบ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 2 กิโลเมตร
    เมื่อตั้งวัดผาสุการามขึ้นใหม่ๆ ได้นิมนต์หลวงปู่พิมพ์ หาดี มาอยู่ประจำเป็นการชั่วคราว มีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ พระพุทธไสยาสน์ องค์ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน

    ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2508 โดย พระเดชพระคุณพระเทพมลคลเมธี เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี ในสมัยนั้น


    ประวัติ พระเจ้าใหญ่พุทธไสยาสน์ วัดผาสุการาม เป็นพระพุทธไสยาสน์
ที่มีพระพุทธลักษณะน่าเคารพบูชา ทรงไสยาสน์อยู่บนแท่นขนาดยาว 18
เมตร กว้าง 3.50 เมตร สูง 1.08 เมตร ขนาดองค์จากยอดพระเกศถึง
พื้นพระบาท ยาว 17 เมตร สูงจากพระแท่นถึงยอดพระเกศ 3.70 เมตร 

     พระพุทธไสยาสน์ มีพุทธลักษณะสิริสง่างามน่าเคารพบูชา สวยงาม
ไม่แพ้ที่ใดๆ ทรงไสยาสน์อยู่บนแท่นดอกบัวที่สวยงาม พระแท่นไสยาสน์
ขนาดยาว 18 เมตร กว้าง 3.50 เมตร สูง 1.20 เมตร ผินพระพักตร์สู่ทิศบูรพา พระเศรียรไปทางทิศใต้ พระบาทไปทางทิศเหนือ การสร้างพระเจ้าใหญ่พุทธไสยาสน์ จากการดำริของชาวบ้านที่เห็นว่าอำเภอวารินชำราบเป็นเมืองคู่กันกับเมืองอุบลราชธานี แต่ชาวอำเภอวารินชำราบไม่มีปูชนียวัตถุที่สำคัญเป็นที่เคารพ ฝั่งอำเภอเมืองอุบลราชธานี มีมากมาย ดังนั้นจึงได้สร้างพระเจ้าใหญ่พุทธไสยาสน์ ให้เป็นที่กราบไหว้ของชาวอำเภอวารินชำราบ (วันอังคาร ปางไสยาสน์)



     พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถบรรทมตะแคงขวา เมื่อคราวจะปรินิพพาน หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายทอดทายไปตามพระวรกายเบื้องซ้าย พระหัตถ์ขวาหงายวางอยู่ที่พื้นข้างพระวรกาย พระบาทซ้ายทับพระบาทขวา ลักษณะตั้งซ้อนกัน ประวัติและความสำคัญ พระพุทธเจ้าครั้นโปรดสุภัททปริพาชกให้บรรพชาอุปสมบทและให้สำเร็จเป็น พระอริยเจ้าเป็นปัจฉิมสาวกแล้ว ต่อมาพระอานนท์จึงได้ทูลถามพระองค์ว่า พระฉันนะ ถือตัวว่าเป็นข้าเก่า ติดตามพระองค์คราวเสด็จออกบวช เป็นคนว่ายากสอนยาก แม้จะกรุณา เตือนแล้วก็ตาม เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ยิ่งจะว่ายากขึ้นไปอีก หาผู้ยำเกรงมิได้ ข้าพระองค์จะพึงปฏิบัติต่อพระฉันนะนั้นอย่างไร พระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งให้สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ คือ ไม่พึงว่ากล่าว ไม่พึงโอวาท ไม่พึงสั่งสอน เมื่อถูกพรหมทัณฑ์แล้ว จะสำนึกผิดเอง ครั้นแล้วพระพุทธเจ้า ได้ตรัสปัจฉิโมวาท เตือนว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรม เธอทั้งหลาย จงทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ ด้วยความไม่ประมาทเถิด ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว ในลำดับแห่งการพิจารณา องค์แห่งจตุถฌาน ก็บังเกิดมหัศจรรย์แผ่นดินใหญ่ไหวสะเทือนสะท้าน เกิดการโลมชาติ ชูชันขันพองสยองเกล้า กลองทิพย์ก็บันลือลั่นในอากาศ พร้อมกับการปรินิพพานของ พระพุทธเจ้า บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายพากันเศร้าโศก ร่ำไห้ คร่ำครวญถึงพระองค์พระอานนท์ และพระอนุรุทธเถระได้แสดงธรรมเพื่อปลอบโยนมหาชน พุทธศาสนิกชนเมื่อรำลึกถึงการเสด็จปรินิพพานของพระองค์ จึงได้สร้าง พระพุทธรูปปางนี้ขึ้น เพื่อบูชาพระพุทธองค์






คาถาสวดบูชา
ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง ยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโต สุขัง
สุปะติ สุตโต จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ เอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เส ฯ


  สถานที่สำคัญในชุมชน



Secured by Siteground Web Hosting