1. Skip to Menu
  2. Skip to Content
  3. Skip to Footer>

สถานที่สำคัญในชุมชน


มูลนิธิสว่างบูชาธรรมสถาน

สถานที่สำคัญในชุมชน


มูลนิธิสว่างบูชาธรรมสถาน

ที่อยู่ เลขที่ 12 ถนนศรีมงคล ต. วารินชำราบ อ. วารินชำราบ จ. อุบลฯ 34190

โทรสำนักงานมูลนิธิ 045-321273

โทรแจ้งเหตุ - งานกู้ภัย 045-269444 ความถี่ 168.275


มูลนิธิสว่างบูชาธรรมสถาน เป็นองค์กรสงเคราะห์กุศลที่ไม่แสวงผลกำไร ดำเนินกิจการให้ความช่วยเหลือผู้ยากไร้ ผู้ประสบอุบัติเหตุ และประสบภัยต่างๆ ทั้ังในพื้นที่อำเภอวารินชำราบและบริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้ภายในมูลนิธิยังมีศาสนสถาน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้สักการะบูชาเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ชีวิตด้วย



สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำมูลนิธิ


- เจดีย์เผากระดาษ
- เทวดาฟ้าดิน
- เทพเจ้าแปดเซียน
- เจ้าแม่กวนอิม
- เทพไต่ฮงกง
- พระพุทธ
- โหล่วเสี่ย
- พระโพธิสัตว์กวนอิมหยกขาว (กำลังดำเนินการสร้าง)








วัดวารินทราราม

สถานที่สำคัญในชุมชน

วัดวารินทราราม (วัดคำน้ำแซบ) ตั้งอยู่ที่ เลขที่ ๑๗ ถนนทหาร ตำบลวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒๕ ไร่ โฉนดที่ดินเลขที่ ๓๗๒


อาณาเขต
ทิศเหนือ จดถนนอำเภอ
ทิศใต้ จดถนนทหาร
ทิศตะวันออก จดถนนอำเภอ
ทิศตะวันตก จดถนนคำน้ำแซบ




อาคารเสนาสนะประกอบด้วย


- อุโบสถ กว้าง ๙.๓๑ เมตร ยาว ๒๒.๖๔ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐
- ศาลาการเปรียญ กว้าง ๒๒.๕๐ เมตร ยาว ๓๐.๕๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๖
- กุฏิสงฆ์ จำนวน ๑๓ หลัง เป็นอาคารไม้ ๖ หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ ๖ หลัง และตึก ๑ หลัง
- ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน ๑ หลัง
- โรงเรียนพระปริยัติธรรม ๑ หลัง

ปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถชื่อว่า พระมหาวารีปทุมรัตน์ ขนาดหน้าตัก กว้าง ๔๘ นิ้ว สูง ๔๘ นิ้ว

ประวัติวัดวารินทราราม

เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗ บ้านคำน้ำแซบ มีบ่อน้ำซับอยู่แห่งหนึ่งมีรสอร่อยมาก ชาวบ้านจะมาเอาน้ำดื่มเป็นประจำในสมัยนาย บัว ชินโคตร เป็นกำนันนายบ้านโดยท่านพระครูวิโรจน์รัตนอุบล เจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานี ได้ส่งพระชมพูธิราช และพระอ่อน มาสร้างที่พักสงฆ์จำพรรษาทางทิศตะวันออกของบ่อน้ำเพื่อให้ชาวบ้านได้ทำบุญ ชาวบ้านมักเรียกว่า วัดคำน้ำแซบ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีา เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๗ การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑







วัดบ้านหาดสวนสุข (วัดหาดสวนยา)

สถานที่สำคัญในชุมชน

วัดบ้านหาดสวนสุข หรือในอีกชื่อวัดหาดวนยา
ตั้งอยู่ที่ บ้านหาดสวนสุข หมู่ที่ ๑๐ ตำบลวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๙ ไร่ ๒ งาน ๒๐ ตารางวา น.ส.๓ เลขที่ ๘๕

อาณาเขต

ทิศเหนือ ที่ดินนายพนมและนางตุ่น
ทิศใต้ จดทางสาธารณะ
ทิศตะวันออก จดทางสาธารณะ
ทิศตะวันตก จดกุดผึ้ง


อาคารเสนาสนะประกอบด้วย

อุโบสถ กว้าง ๙ เมตร ยาว ๒๕ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๑

ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๔ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑

กุฏิสงฆ์ จำนวน ๕ หลัง เป็นอาคารไม้ ๒ หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ ๓ หลัง

วิหาร กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๑๗ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐

ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๔ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗
ประวัติวัดหาดสวนสุข

ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ เดิมเป็นที่พักสงฆ์มีชื่อว่า สำนักสงฆ์หาดสวนยา โดยการนำของพระครูสังฆรักษ์เส็ง นำชาวบ้านสร้างขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๗ โดยได้รับบริจาคที่ดินจากนายชิน ยืนยง จำนวนเนื้อที่ ๑๙ ไร่ ๒ งาน ๒๐ ตารางวา ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๑๖ นายเยี่ยม สุขมูลและนายสุข ศิริมูล ได้ดำเนินการขออนุญาตสร้างวัด และตั้งวัดโดยมีชื่อว่า วัดหาดสวยสุข ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๐ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระครูสถิตวิบูลธรรม ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๕ เป็นต้นมา

การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๒ และศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัน เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๖






วัดป่าแสนสำราญ

สถานที่สำคัญในชุมชน


ลักษณะพื้นที่ตั้งวัดและบริเวณโดยรอบในปัจจุบัน
มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบในเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบใกล้สถานีรถไฟอุบลราชธานี และสำนักทางหลวงที่ ๗ อุบลราชธานีอยู่ท่ามกลางชุมชนขนาดใหญ่ มีชุมชนแวดล้อมที่สำคัญคือ ชุมชนแสนสำราญ      ชุมชนแหลมทอง ชุมชนคำน้ำแซบ ชุมชนอยู่เย็น
อาณาเขตของวัดในปัจจุบัน
ทิศเหนือยาว   ๓๒๐ เมตร  ติดต่อกับถนนศรีสะเกษ๑
ทิศใต้ยาว   ๓๒๐  เมตร  ติดต่อกับถนนเทศบาล๑๔
ทิศตะวันออกยาว  ๒๐๘  เมตร  ติดต่อกับถนนศรีสะเกษ ๒
ทิศตะวันตกยาว  ๑๙๗  เมตร  ติดต่อกับถนนสถานี
ประวัติวัดแสนสำราญ

วัดแสนสำราญ  เริ่มสร้างตั้งแต่วันที่ ๕ มกราคม พุทธศักราช๒๔๗๖ ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ ๒๙ ถนนศรีสะเกษ ๑(ในเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ) ตำบลวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี
ที่ดินบริเวณที่ตั้ง วัดมีเนื้อที่ ๓๘ ไร่  ๓ งาน ๖๓๓/๑๐ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๙๕๓๔
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๔กุมภาพันธ์  พุทธศักราช ๒๕๒๖  เขตวิสุงคามสีมามีขนาดกว้าง ๔๐ เมตร  ยาว ๘๐ เมตร

ปัจจุบันมี พระครูประจักษ์อุบลคุณ (อัมรินทร์ ธนสาโร) เป็นเจ้าอาวาส และเจ้าคณะตำบลวารินชำราบ(ธรรมยุต)
พระครูธีรปัญญาภรณ์ (ธีรเดช เปมสีโล)เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส และเลขานุการเจ้าคณะตำบลวารินชำราบ (ธรรมยุต)


ความเป็นมา

แรกเริ่มเดิมที่ก่อนแต่ยังไม่ได้สร้างเป็นวัดมีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ “ปั่น” เดินรุกขมูลเที่ยวธุดงค์มาจากอำเภอภูเขียวได้มาพักแรมอยู่ร่มไม้ใกล้กับสถานีรถไฟอุบลราชธานี นายเทศ  ยิ่งยศ กับนายสอน พนักงาน ห้ามล้อรถไฟอุบลราชธานีกับนายเพ็ง  วิมลกลาง พนักงานตรวจรถได้เห็นแล้วจึงอาราธนาให้ท่านมาพักรุกขมูลอยู่โคนต้นไม้กระบกในป่าที่ว่างเปล่า  ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดแสนสำราญในปัจจุบันนี้
เมื่อเวลาที่พระภิกษุปั่นจะหลีกไปท่านได้แนะนำกับสัปบุรุษทั้งหลายว่า อาตมานี้มีอายุพรรษาน้อยและมีความรู้น้อยยังเป็นพระผู้น้อยอยู่ ไม่สามารถจะสร้างให้เป็นวัดได้ขอให้ญาติโยมทั้งหลายไปกราบอาราธนา  พระผู้มีความรู้ความสามารถและมีอายุพรรษามากๆ ทั้งสามารถเป็น    เจ้าอาวาสได้ด้วยให้มาจัดการก่อสร้างเป็นวัดเถิดจึงจะถาวรมั่นคงสืบๆ ไป
หลังจากนั้นต่อมา บรรดาคณะสัปบุรุษทั้งหลายเมื่อได้ทราบว่า  พระมหาเสาร์  นาควโร และพระมหาสมบูรณ์ วัดบรมนิวาส พระนครได้แสวงหาที่วิเวกเที่ยวจาริกมาพักอยู่บำเพ็ญสมณธรรมที่เสนาสนะป่าใกล้ บ้านโพธิ์ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จึงได้พร้อมใจกัน ไปอาราธนาให้ท่านทั้งสองมาจัดการก่อสร้างให้เป็นสำนักสงฆ์ขึ้น
ท่านพระมหาเสาร์  นาควโร และพระมหาสมบูรณ์เมื่อได้รับอาราธนาแล้วก็มีความเต็มใจ ได้มาอยู่บำเพ็ญสมณธรรมตามสมณวิสัย  โดยอาศัยรุกขมูลร่มไม้เป็นที่วิเวกอยู่เท่านั้น
ครั้นญาติโยมทั้งหลายปรารภที่จะให้เป็นวัดวาอารามสืบต่อไป จึงได้นำความขึ้นกราบเรียนต่อสมเด็จพระมหาวีระวงศ์สังฆนายก (เมื่อครั้งยังไม่ได้เป็นสมเด็จและสังฆานายก) เจ้าคุณพระศาสนดิลกและเจ้าคุณ    พระศรีธรรมวงศาจารย์เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานีในสมัยนั้นเมื่อเห็นชอบแล้วจึงอนุมัติให้พระมหาเสาร์ นาควโร และพระมหาสมบูรณ์ ร่วมกันคิดอ่านดำเนินการก่อสร้างต่อไป ฯ
พระมหาเสาร์  นาควโร และพระมหาสมบูรณ์เมื่อได้รับอนุมัติเช่นนั้นแล้ว จึงมาคิดว่าเสนาสนะป่าที่จะเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นได้ต้องมี     พระกัมมัฏฐานมาอยู่เป็นหลักเป็นฐานเมื่อเป็นเช่นนี้จึงจำเป็นอยู่เองที่จะต้องนิมนต์พระกัมมัฏฐานมาจากจังหวัดอื่น ฯ
เมื่อได้ความชัดดังนี้แล้วจึงได้ขอรายงานจากท่านเจ้าคุณ     พระศาสนดิลกและท่านเจ้าคุณพระศรีธรรมวงศาจารย์ ให้คณะสัปบุรุษประจำจังหวัดอุบลราชธานีมีนายโพธิ์  ส่งศรี เป็นต้นไปกราบอาราธนาพระอาจารย์เสาร์  กนฺตสีโล ซึ่งเป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ   มาจากจังหวัดนครพนมพร้อมด้วยคณะพระกัมมัฏฐานประมาณ ๓๐ รูป  ให้กลับคืนมาอบรมสั่งสอนประชาชนพลเมืองในท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี
คณะสัปบุรุษทั้งหลายพร้อมด้วยผู้มีจิตศรัทธาชายหญิงเป็นจำนวนมากจึงได้เริ่มลงมือก่อสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นตั้งแต่วันที่ ๕ มกราคม  พุทธศักราช ๒๔๗๖เป็นต้นมา
รายนามคณะสัปบุรุษทั้งหลายที่ลงมติให้สร้างและร่วมก่อสร้างสำนักสงฆ์แห่งนี้นับว่าเป็นบุคคลสำคัญควรระบุชื่อไว้ดังนี้
๑.   เจ้าคุณพระศรีธรรมาโศกราชสมุห์เทศาภิบาลมณฑลจังหวัดอุบลราชธานี
๒.   หลวงนิวาส  นายอำเภอวารินชำราบ
๓.   นายก่าย  กำนันตำบลธาตุ
๔.   นายอ่อน  ผู้ใหญ่บ้านหนองตาโผ่น
๕.   นายบุญศรี  ผู้ใหญ่บ้านวารินชำราบ
๖.   นายเทศ  ยิ่งยศ
๗.  นายสอน  พนักงานห้ามล้อ สถานีรถไฟอุบลราชธานี
๘.   นายพิมพ์  ทายกวัดวารินทราราม
๙.   นายเคณ  สุมาลี พนักงานตรวจรถ สถานีรถไฟอุบลราชธานี
๑๐. นายพรหมแสง  สิมานุรักษ์




ปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัด
ก. พระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดหน้าตักกว้าง ๕๐ นิ้ว สูง ๗๕ นิ้ว       สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔  โดย นายทองดี–นางสุพัทธา จังกาจิตร์ เป็นผู้สร้างถวาย เดิมประดิษฐานอยู่บนศาลาการเปรียญหลังเก่าปัจจุบันได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนแท่นพระประธานภายในศาลาการเปรียญ    หลังใหม่แล้ว (เพราะได้ทำการรื้อถอนศาลาการเปรียญหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม)
ข.รอยพระพุทธบาทจำลอง สร้างด้วยปูนขนาดกว้าง ๑.๗๐ เมตร ยาว ๓.๘๐ เมตรยกสูงจากพื้นซึ่งได้มีการจัดงานประเพณีปิดทองนมัสการพร้อมกับการจัดงานบุญมหาชาติเป็นประจำทุกๆปี โดยปกติถือเอาวันเพ็ญกลางเดือน ๔
จากการบอกเล่าของคุณยายบุญกว้างสุรพัฒน์ และคุณยายประนอม  วงศ์วิไล ทายิกาวัดแสนสำราญผู้สูงอายุ ทราบความเป็นมาได้ว่า เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ได้มีพระอาจารย์สิงห์  และพระมหาปิ่น ซึ่งได้จำพรรษาอยู่วัดแสนสำราญในขณะนั้นได้นำพาญาติโยมชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาริเริ่มกันก่อสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองแห่งนี้ขึ้นครั้นต่อมา หลวงปู่พุธ ฐานิโย (พระครูพุทธิสารสุนทร) ได้เป็นเจ้าคณะตำบล และ   เจ้าคณะอำเภอตามลำดับได้นำพาญาติโยมร่วมกันก่อสร้างรอยพระพุทธ-บาทจำลองเพิ่มเติม
ต่อมาเมื่อพ.ศ. ๒๕๑๑  พระครูสีลคุณาภรณ์ดำรงตำแหน่งเป็น  เจ้าอาวาส จึงได้เริ่มก่อสร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทจำลองแห่งนี้ขึ้น
ความสำคัญของวัดในอดีต - ปัจจุบัน
วัดแสนสำราญมีความสำคัญในทางการคณะสงฆ์ในอดีตที่ผ่านมา  จนถึงปัจจุบันและการให้ความร่วมมือกับทางราชการ ดังนี้
๑. เป็นที่ตั้งสำนักงานเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ(ธรรมยุต) ถึง พ.ศ. ๒๕๔๐
๒. เป็นสถานที่อบรมศีลธรรมแก่ประชาชน
๓. เป็นสถานศึกษาปริยัติธรรม(โรงเรียนปริยัติธรรม) พ.ศ. ๒๔๘๘ จนถึงปัจจุบัน
๔. เป็นสถานศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์(ศพอ.) พ.ศ. ๒๕๓๓ - ปัจจุบัน
๕. ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสำนักงานเจ้าคณะตำบลวารินชำราบ(ธรรมยุต)
๖.เป็นสถานที่ตั้งหน่วยเลือกตั้งของทางราชการ
๗.เป็นสถานที่ประชุมกองทุนหมู่บ้านของชุมชนใกล้เคียง
๘.เป็นสถานที่ตั้งศูนย์พัฒนาคุณธรรมจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นศูนย์อำนวยการและประสานงานของพระวิทยากรกองทัพธรรมกองทัพไทย ร่วมใจต้านภัยยาเสพติด จังหวัดอุบลราชธานี(โดยอนุมัติของเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี (ธรรมยุต) เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕)
นอกจากนั้นนับตั้งแต่ พุทธศักราช ๒๕๐๑ เป็นต้นมา คณะสงฆ์จังหวัดอุบลราชธานี (ธรรมยุต)ได้กำหนดเอาวัดแสนสำราญเป็นสถานที่ประชุมสวดมนต์สามัคคีซึ่งเป็นกิจกรรมในพรรษาของคณะสงฆ์ธรรมยุตจังหวัดอุบลราชธานี ในวันขึ้น ๗ ค่ำ เดือน๑๐ โดยถือปฏิบัติเป็นประเพณีประจำทุกๆ ปี

ลำดับเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีต– ปัจจุบัน
นับแต่ได้มีการเริ่มก่อสร้างวัดแสนสำราญ(พ.ศ. ๒๔๗๖)  เป็นต้นมาจนกระทั่งถึงพุทธศักราช๒๔๗๙ นับเป็นเวลา ๔ ปี ได้มีคณะพระกัมมัฏฐานที่กราบอาราธนามาจากจังหวัดนครพนมสับเปลี่ยนกันปกครองดูแลรักษามาโดยไม่ปรากฏรายนามว่าเป็นท่านผู้ใดแน่นอน
หลังจากพุทธศักราช ๒๔๗๙ เป็นต้นมามีเจ้าอาวาสสับเปลี่ยนกันปกครองดูแล ดังต่อไปนี้
๑.  พระอาจารย์มหาเสาร์  นาควโร ปี พ.ศ. ๒๔๗๙ – ๒๔๘๐
๒.  พระอาจารย์วิฤทธิ์ ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ – ๒๔๘๔
๓.  พระอาจารย์บุญมี ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ – ๒๔๘๗
๔.  พระอาจารย์ไสว ปี พ.ศ. ๒๔๘๘ – ๒๔๙๒
๕.  พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ – ๒๔๙๕
๖.  พระครูพุทธิสารสุนทร ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ – ๒๕๑๑
๗.  พระครูสีลคุณาภรณ์ ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ – ๒๕๓๖
(ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับพระราชทานโปรดเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่
“พระอุบลคณาจารย์” นับเป็นพระราชาคณะรูปแรกนับตั้งแต่มีการสร้างวัด)
๘.  พระครูอุบลเดชคณาจารย์  ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ – ๒๕๔๐
๙.  พระปลัดอัมรินทร์  ธนสาโร ๑ ก.พ. ๒๕๔๑ – ปัจจุบัน
(ปี พ.ศ.๒๕๔๕ ได้รับพระราชทานโปรดตั้งสมณศักดิ์ เป็น       “พระครูประจักษ์อุบลคุณ”พระครูเจ้าคณะตำบลชั้นโท)

***************************
...เปมสีโลภิกฺขุ...เรียบเรียง


วัดเสนาวงศ์ (วัดท่าบ้งมั่ง)

สถานที่สำคัญในชุมชน


วัดเสนาวงศ์ หรืออีกชื่อหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกขานกันคือ "วัดท่าบ้งมั่ง" ตั้งอยู่ติดริมแม่น้ำมูล ชุมชนท่าบ้งมั่ง เขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
หลวงพ่อโตโคตะมะ
ด้วยความเลื่อมใสและศรัทธาทางวัดเสนาวงศ์ จึงได้ดำเนินการจัดสร้างหลวงพ่อโตโคตะมะขึ้นเมื่อวันที่ 10-15 ธันวาคม 2554 โดยมีพระราชธรรมโกศล เจ้าอาวาสวัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อเป็นประธานอำนวยการจัดสร้าง และได้มีพิธีพุทธาภิเศกหลวงพ่อพระโตโคตมะ และพระสิวลี เทพเจ้าแห่งโชคลาภ ไปเมื่อวันที่14 มีนาคม57











ประวัติหลวงพ่อพระโตโคตะมะ

หลวง พ่อภรังสี ได้ค้นพบหลวงปู่โตโคตมะ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีความสำคัญ ซึ่งหลังจากค้นพบแล้ว ก็ได้ ศึกษาค้นคว้าจึงทำให้ได้รู้ว่า หลวงปู่โตโคตะมะนี้ภายในได้บรรจุพระพุทธนขาธาตุ (เล็บมือข้างขวา) ของพระพุทธเจ้า และเป็นกุญแจสำคัญที่นำพาให้ได้พบพระพุทธโลหิตธาตุสืบต่อไป

การค้นพบหลวงพ่อพระโตโคตะมะ

มูลเหตุแห่งการค้นพบ หลวงปู่โตโคตะมะนี้ ต้องเริ่มต้นกันที่วัดบ้านแสนชะนี ต.พรสวรรค์ อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี ในช่วงปี ๒๕๓๕ หลวงพ่อได้มาสร้างวัดป่าคำบอน ขึ้น ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน และได้ยิน คำร่ำลือ เกี่ยวกับวัดบ้านแสนชะนี ว่าเป็นสถานที่มีอาถรรพ์มาก เพราะไม่มีพระรูปใดไปพักจำพรรษาอยู่ได้เลย พระภิกษุ-สามเณรที่จำพรรษาอยู่ก็มรณภาพ จึงเกิดคำร่ำลือไปต่าง ๆ นานาว่าที่แห่งนี้มีผีดุ เมื่อหลวงพ่อ ได้ยินคำล่ำลือดังนี้แล้วก็เกิดความสนใจอยากจะไปพิสูจน์ให้รู้แน่ชัดว่า การที่พระเณรมรณภาพนั้น มีสาเหตุมา จากอะไร ตกตอนกลางคืนจึงได้เดินทางไปที่วัดบ้านแสนชะนีและได้ไหว้พระสวดมนต์เจริญ ภาวนาอธิษฐานจิตว่า

"ถ้าหากสถานที่นี้เป็นพุทธสถานมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อยู่จริง
ข้าพเจ้าไม่หลบหลู่ แต่ขอให้ ปรากฏเกิดขึ้นให้ข้าพเจ้าได้รู้ได้
ประจักษ์ด้วยการเจริญสมาธิภาวนา"

พอ อธิษฐานเสร็จหลวงพ่อได้เจริญสมาธิภาวนา ไปได้ประมาณ ๑๕ นาที ก็รู้สึกว่าตัวแข็งขึ้นเคลื่อนไหว ไม่ได้ แต่จิตยังปกตินิ่งอยู่รู้ทุกสภาวะอาการที่เกิดขึ้นอย่างเด่นชัด จึงได้กำหนดจิตอธิษฐานว่า

" บุญ บารมีของใครหนอ ถึงมีอานุภาพยิ่งใหญ่ถึงขนาดนี้ ถ้ามีตัวตนอยู่จริง ขอให้ปรากฏเกิดขึ้น ให้ข้าพเจ้าได้รู้ได้เห็นได้ชมเป็นบุญตา เกิดบุญเกิดกุศล ด้วยเถิด "

พอ อธิษฐานเสร็จ ก็เห็นหลวงปู่เดินขึ้นมานั่งอยู่ข้าง ๆ อาการตัวแข็งก็หายไป แล้วหลวงปู่ก็ได้เอามือลูบที่ ศีรษะแตะที่หน้าผาก ๓ ครั้ง แล้วก็พูดว่า

" ลูกเอ๋ย น่าสงสาร ทำไมหนอถึงเวียนว่ายตายเกิดอยู่บ่อยนัก น่าสงสาร ป่านนี้ถึงได้พบกันได้เห็นกันอีกปู่มานั่งรออยู่ตั้งนานแล้ว "

จาก นั้นก็ใช้เวลาสนทนากันเกือบชั่วโมง หลวงพ่อจึงได้ถอนจิตออกจากสมาธิ ตอนนั้นเป็นเวลาเกือบเที่ยงคืน จึงเดินทางกลับวัดป่าคำบอน เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงพรรษา หลังจากนั้นมาหลวงพ่อ จึงได้หาโอกาสไปเจริญสมาธิ ภาวนาสอบเรื่องราวรายละเอียดต่าง ๆทำการศึกษาค้นคว้าวิจัย จึงทำให้ได้ทราบถึงประวัติความ เป็นมาของ พระพุทธองค์นี้ที่สถิตอยู่ใต้พื้นดินที่วัดบ้านแสนชะนีแห่งนี้


ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระชนมายุ ๕๗ พรรษา ทรงเสด็จมาที่แผ่นดินสุวรรณภูมิแห่งนี้ โดยเสด็จมา ที่ภูเขาหัวช้างเมืองโคตรภู (ปัจจุบันนี้คือยอดลำโดมใหญ่ บ้านแข้ด่อน อ.น้ำยืน) พร้อมทั้งพระอรหันตสาวกอัน ประกอบไปด้วย พระมหากัสสปะ พระอานนท์ พระสิวลี พระมหากัจจายนะ และพระมหาเทวจักรเป็นประธานสงฆ์ ในเขตสุวรรณภมิได้มาถวายการต้อนรับ ในครั้งนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงตัดพระนขา (เล็บ) ทั้ง ๑๐ นิ้ว และได้ พระราชทานพระนขาข้างขวาให้แก่พระมหากัสสปะ ส่วนพระนขาข้างซ้ายเทวดาได้อัญเชิญขึ้นไปเก็บไว้ที่ เทวโลก พระมหากัสสปะได้ทราบพุทธประสงค์แล้ว จึงได้มอบหมายภาระหน้าที่ให้กับพระสิวลี พระมหาเทวจักร ได้ดำเนิน การสร้างพระพุทธรูปเพื่อบรรจุพระพุทธนขา พระสิวลีและพระมหาเทวจักรจึงได้จัดสร้างพระพุทธรูป ซึ่งทำจากทอง คำทั้งองค์ มีขนาดหน้าตัก กว้าง ๒.๙ เมตร เสร็จแล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จกลับไป พระมหากัสสปะ ได้สร้างสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์นี้ไว้ที่เมือง โคตรภู เพื่อให้ประชาชนชาวเมืองโคตภูได้กราบไหว้บูชา สักการะ และได้ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า " โคตะมะ "  เนื่อง จากเป็นพระพุทธรูป ที่ภายในบรรจุพระ พุทธนขา จึงเป็นเสมือนหนึ่งตัวแทนแห่งพระบรมศาสดา จากนั้นท่านก็ได้ไปแกะสลักรูปนารายณ์บรรทมศิลป์ แล้วจารึกเป็นภาษา ฮินดีว่า ศรีสุริยะ ไว้เพื่อเป็นหลักฐาน หลังจากนั้นท่านก็ได้เดินทางกลับประเทศอินเดีย ภายหลังจากพุทธปรินิพพาน ชาวเมืองโคตรภู ได้เกิดทำศึกสงคราม เพื่อแย่งชิงพระพุทธรูป เพราะต่างก็อยาก จะครอบครอง จนทำให้บ้านเมืองเสียหายเพราะภัยสงคราม พระพุทธรูปเกิดความศักดิ์สิทธิ์ได้เสด็จลงสู่แม่น้ำ ลำโดม บริเวณวังมน วังฮี ลอยมาตามกระแสแม่น้ำมา มาหยุดอยู่ที่วัดแสนชะนี และจมอยู่ภายใต้พื้นดิน จนถึงปัจจุบัน โดยไม่มีผู้ใดได้ล่วงรู้ถึงพระพุทธรูปโคตมะองค์นี้อีกเลย


วัดประชาพิทักษ์ (วัดกุดเป่ง)

สถานที่สำคัญในชุมชน


วัดประชาพิทักษ์ หรืออีกหนึ่งชื่อที่ชาวบ้านเรียกขานคือ วัดกุดเป่ง ตั้งอยู่ที่บ้านกุดเป่ง

ตำบลวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี









วัดผาสุการาม

สถานที่สำคัญในชุมชน

ตั้งอยู่ที่
- ตำบลวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เดิมเรียกว่า วัดบ้านดง เพราะมีป่าดงพงไพรมาก จึงเรียกตามภูมิประเทศ ต่อมา พ.ศ. 2507 สมเด็จพระมหาวีรวงค์ (ติสฺโสอ้วน) ได้เปลี่ยนชื่อใหม่มาเป็น วัดผาสุการาม เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2507 ได้รับพระราชทานเป็นวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2510

ประวัติ วัดผาสุการาม
    ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2490 โดยนายวิบูลย์เดช สุวรรณมูล นายเปีย บุญศรีดา นายเล็ก วิเศษรอด พร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกาชาวบ้านดง จับจองที่ดินบูรณะ มีเนื้อที่จำนวน 24 ไร่ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอวารินชำราบ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 2 กิโลเมตร
    เมื่อตั้งวัดผาสุการามขึ้นใหม่ๆ ได้นิมนต์หลวงปู่พิมพ์ หาดี มาอยู่ประจำเป็นการชั่วคราว มีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ พระพุทธไสยาสน์ องค์ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน

    ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2508 โดย พระเดชพระคุณพระเทพมลคลเมธี เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี ในสมัยนั้น


    ประวัติ พระเจ้าใหญ่พุทธไสยาสน์ วัดผาสุการาม เป็นพระพุทธไสยาสน์
ที่มีพระพุทธลักษณะน่าเคารพบูชา ทรงไสยาสน์อยู่บนแท่นขนาดยาว 18
เมตร กว้าง 3.50 เมตร สูง 1.08 เมตร ขนาดองค์จากยอดพระเกศถึง
พื้นพระบาท ยาว 17 เมตร สูงจากพระแท่นถึงยอดพระเกศ 3.70 เมตร 

     พระพุทธไสยาสน์ มีพุทธลักษณะสิริสง่างามน่าเคารพบูชา สวยงาม
ไม่แพ้ที่ใดๆ ทรงไสยาสน์อยู่บนแท่นดอกบัวที่สวยงาม พระแท่นไสยาสน์
ขนาดยาว 18 เมตร กว้าง 3.50 เมตร สูง 1.20 เมตร ผินพระพักตร์สู่ทิศบูรพา พระเศรียรไปทางทิศใต้ พระบาทไปทางทิศเหนือ การสร้างพระเจ้าใหญ่พุทธไสยาสน์ จากการดำริของชาวบ้านที่เห็นว่าอำเภอวารินชำราบเป็นเมืองคู่กันกับเมืองอุบลราชธานี แต่ชาวอำเภอวารินชำราบไม่มีปูชนียวัตถุที่สำคัญเป็นที่เคารพ ฝั่งอำเภอเมืองอุบลราชธานี มีมากมาย ดังนั้นจึงได้สร้างพระเจ้าใหญ่พุทธไสยาสน์ ให้เป็นที่กราบไหว้ของชาวอำเภอวารินชำราบ (วันอังคาร ปางไสยาสน์)



     พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถบรรทมตะแคงขวา เมื่อคราวจะปรินิพพาน หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายทอดทายไปตามพระวรกายเบื้องซ้าย พระหัตถ์ขวาหงายวางอยู่ที่พื้นข้างพระวรกาย พระบาทซ้ายทับพระบาทขวา ลักษณะตั้งซ้อนกัน ประวัติและความสำคัญ พระพุทธเจ้าครั้นโปรดสุภัททปริพาชกให้บรรพชาอุปสมบทและให้สำเร็จเป็น พระอริยเจ้าเป็นปัจฉิมสาวกแล้ว ต่อมาพระอานนท์จึงได้ทูลถามพระองค์ว่า พระฉันนะ ถือตัวว่าเป็นข้าเก่า ติดตามพระองค์คราวเสด็จออกบวช เป็นคนว่ายากสอนยาก แม้จะกรุณา เตือนแล้วก็ตาม เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ยิ่งจะว่ายากขึ้นไปอีก หาผู้ยำเกรงมิได้ ข้าพระองค์จะพึงปฏิบัติต่อพระฉันนะนั้นอย่างไร พระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งให้สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ คือ ไม่พึงว่ากล่าว ไม่พึงโอวาท ไม่พึงสั่งสอน เมื่อถูกพรหมทัณฑ์แล้ว จะสำนึกผิดเอง ครั้นแล้วพระพุทธเจ้า ได้ตรัสปัจฉิโมวาท เตือนว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรม เธอทั้งหลาย จงทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ ด้วยความไม่ประมาทเถิด ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว ในลำดับแห่งการพิจารณา องค์แห่งจตุถฌาน ก็บังเกิดมหัศจรรย์แผ่นดินใหญ่ไหวสะเทือนสะท้าน เกิดการโลมชาติ ชูชันขันพองสยองเกล้า กลองทิพย์ก็บันลือลั่นในอากาศ พร้อมกับการปรินิพพานของ พระพุทธเจ้า บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายพากันเศร้าโศก ร่ำไห้ คร่ำครวญถึงพระองค์พระอานนท์ และพระอนุรุทธเถระได้แสดงธรรมเพื่อปลอบโยนมหาชน พุทธศาสนิกชนเมื่อรำลึกถึงการเสด็จปรินิพพานของพระองค์ จึงได้สร้าง พระพุทธรูปปางนี้ขึ้น เพื่อบูชาพระพุทธองค์






คาถาสวดบูชา
ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง ยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโต สุขัง
สุปะติ สุตโต จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ เอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เส ฯ




Secured by Siteground Web Hosting