1. Skip to Menu
  2. Skip to Content
  3. Skip to Footer>

ข่าวสด ศอ.บต.ส่งเสริมภาษามาลายู

ศอ.บต."ส่งเสริมภาษามลายูถิ่นในระบบราชการ สร้างความเข้าใจกับประชาชน 3 จว.ชายแดนใต้

รายงานพิเศษ
 เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ห้องน้ำพราว โรงแรมซีเอสปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี พลตำรวจตรีเดชา ชวยบุญชุม รองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนใต้ เป็นประธานพิธีเปิดงานในโครงการจัดอบรมหลักสูตร ภาษามลายูถิ่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  ระหว่างวันที่ 22-27 มิถุนายน 2556 ซึ่งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) โดยสำนักพัฒนาบุคลากร ร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ร่วมกันส่งเสริมการใช้ถิ่นในหน่วยงานราชการ  พร้อมเชิญวิทยากรมาบรรยายให้ความรู้  คือ อาจารย์แวยูโซ๊ะ  สามะอาลี ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี มี ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติงานที่ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมอบรมจำนวน 100 นาย
 นายวีรนันท์  เพ็งจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาบุคลากร ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้กล่าวว่า ภาษามลายูซึ่งใช้อยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ถือเป็นภาษาหนึ่งของพลเมืองไทย เนื่องจากเป็นภาษาที่พี่น้องประชาชนส่วนใหญ่ใช้กันมาตั้งแต่อดีต ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ข้าราชการซึ่งมีหน้าที่ในการให้บริการใกล้ชิดกับประชาชนจะต้องฟังและพูดภาษามลายูให้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการตำรวจเป็นข้าราชการที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับพี่น้องประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง
 พลตำตรวจตรีเดชา  ชวยบุญชู รองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนใต้ กล่าวด้วยว่า เมื่อเราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง ภาษาจึงทำให้เกิดความแตกต่างไปด้วย แต่ละถิ่นที่อยู่ ก็มีภาษาเป็นของตัวเอง เพื่อแสดงความเป็นพวกพ้องพี่น้องเดียวกัน เช่นเดียวกับตำรวจที่เข้าอบรมในครั้งนี้ที่มาจากต่างที่ต่างถิ่น แต่มาอยู่ร่วมกัน เพื่อดูแลพี่น้องประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้นตำรวจจึงเป็นหน่วยงานที่ทำงานใกล้ชิดและเกี่ยวข้องกับทุกข์สุขของประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งถือเป็นพื้นที่พิเศษ ความจำเป็นในการพูดและฟังภาษาที่ประชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ใช้อยู่เป็นประจำจึงมีความสำคัญ 
 พลตำตรวจตรีเดชา ระบุว่า การอบรมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเสริมศักยภาพในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านภาษา และเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการปกป้อง ขับเคลื่อนความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งถือเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องใช้ เพื่อให้เกิดความเคยชินในการสื่อสารสร้างความเข้าใจกับคนในพื้นที่ เพื่อให้รู้สึกเกิดความไว้วางใจและรู้สึกปลอดภัยที่จะให้ตำรวจเข้าไปดูแลพี่น้องประชาชน ดังนั้นภาษาถือเป็นอาวุธทางความคิดอย่างหนึ่งที่เราสามารถนำไปใช้ในพื้นที่ได้ สามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและการให้บริการประชาชนได้ดียิ่งขึ้น เพื่อนำไปถ่ายทอดให้แก่เพื่อนข้าราชการตำรวจ ให้สามารถพูดได้ ฟังเข้าใจ และเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการนำความสันติสุขกลับคืนมาสู่พื้นที่ได้อย่างแท้จริง





 
 
 
 
 




 
 
  สำนักปลัดฯ



Secured by Siteground Web Hosting