การถอดบทเรียนการดำเนินงานนวัตกรรมในชุมชน
ศูนย์เรียนรู้เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ชุมชนชลประทาน
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

ประวัติชุมชนชลประทาน

ชุมชนชลประทานริมน้ำคำน้ำแซบ อ.วารินชำราบ เดิมชื่อบ้านริมคำน้ำแซบ ต่อมาปี พ.ศ. 2497 กรมชลประทานสร้างอ่างเก็บน้ำ มีคนย้ายมาอยู่มากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวทหารเพราะติดกับมณฑลทหารบกที่ 22 เลยเรียกชุมชนชลประทาน ปัจจุบันเป็นชุมชนเมือง มีสถานที่สำคัญหลายแห่ง ชาวบ้านส่วนใหญ่ค้าขาย รับจ้าง และเป็นข้าราชการ

ที่ตั้งชุมชนชลประทาน

ชุมชนชลประทานเป็นชุมชนเขตเมืองกึ่งหนาแน่น มีพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ทิศเหนือติดกับลำคำน้ำแซบ โรงเรียนบ้านเด็กวารินชำราบ และชุมชนวัดวารินทราราม ทิศตะวันออกติดกับอ่างเก็บน้ำเศรษฐเสนีย์ โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์ และมณฑลทหารบกที่ 22 ทิศตะวันตกติดกับโรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติและชุมชนห้าแยก และทิศใต้ติดกับถนนสถิตนิมานกาลและชุมชนต้นแต้

สภาพปัญหาเริ่มต้นและความต้องการของประชาชน
สภาพปัญหาชุมชนโดยรวม
  • ปัญหาขยะและความสะอาดจากตลาดสด
  • การสื่อสารและรับฟังข่าวสารไม่ทั่วถึง
  • ถนน ตรอก ซอย แคบ ขรุขระ ไม่สะดวก
  • พื้นที่ลุ่มต่ำริมคลองคำน้ำแซบ ทำให้ระบายน้ำยากและท่วมขัง
  • คนต่างถิ่นบางส่วนไม่ร่วมมือและไม่มีความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชน
  • การบุกรุกที่สาธารณะริมคลองคำน้ำแซบของคนบางกลุ่ม
กระบวนการของนวัตกรรม
1. ที่่มาและกระบวนการของนวัตกรรม
  • เริ่มต้นจากประชาชนในชุมชน โดยมีการค้นหาปัญหา จัดลำดับความสำคัญ วิเคราะห์สาเหตุ และวางแผนแก้ไขปัญหา
  • ดำเนินการในลักษณะคณะกรรมการ โดยคำนึงถึงศักยภาพของชุมชน สภาพแวดล้อม ทรัพยากรท้องถิ่น และให้ชุมชนมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงติดตามประเมินผล
  • มีการประสานความร่วมมือทั้งจากภายในและภายนอกชุมชน
  • ดึงศักยภาพของบุคลากรในชุมชนมาใช้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหา เช่น การออกแบบสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ และมีการฝึกฝนพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดทำสวนสมุนไพร
  • มีการจัดประชุมชี้แจงรายงานการเงินปีละ 2 ครั้ง และจัดสรรค่าตอบแทนให้คณะกรรมการตามปริมาณงานและผลงาน
2. การวางแผนและการทำงานงานร่วมกับภาคีเครือข่าย

ชุมชนชลประทานมีการวางแผนและทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถานศึกษา องค์กรชุมชน และประชาชนในชุมชน เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาในชุมชน

3. การพัฒนาและขยายผลด้วยเทคโนโลยีและแอปพลิเคชั่น
  • การจัดการฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศ: พัฒนาแพลตฟอร์มกลางบนเว็บไซต์เพื่อรวบรวมข้อมูลชุมชน
  • การส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านสื่อดิจิทัล: สร้างสื่อ e-learning และเผยแพร่ผ่านโซเชียลมีเดีย
  • การส่งเสริมการตลาดดิจิทัล: โปรโมทสินค้าชุมชนผ่าน Facebook Live
  • การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้: สร้างกลุ่มไลน์และช่องทางลงทะเบียนศึกษาดูงาน
การบริหารจัดการภายในชุมชน
วัตถุประสงค์ของฐานการเรียนรู้
  • ศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนกิจกรรมการเรียนรู้: ประกอบด้วยผู้แทนชุมชน กลุ่ม/องค์กร ปราชญ์ชาวบ้าน และอาสาสมัคร มาจากการคัดเลือกของชาวบ้าน ทำหน้าที่วางแผนและดำเนินการ
  • ที่ปรึกษา: ภาคีการพัฒนาภาครัฐ เช่น เทศบาล พัฒนาชุมชน การศึกษานอกโรงเรียน เกษตร สาธารณสุข สถาบันการศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • ระเบียบข้อบังคับ: ใช้รูปแบบการประชุมข้อตกลงในแต่ละครั้ง ไม่มีข้อผูกมัดเป็นลายลักษณ์อักษร
  • สถานที่: อาคารชุมชนที่ได้รับการปรับปรุงจากงบประมาณ SML เป็นสถานที่พบปะ ประชุม ทำงาน
  • การบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนกิจกรรมการเรียนรู้: คณะกรรมการแบ่งหน้าที่ตามฐานการเรียนรู้และแผนกต่างๆ เช่น การเงิน บัญชี ประสานงาน
  • งบประมาณ: จัดสรรตามปริมาณงานและผลงานอย่างเหมาะสม
ดาวน์โหลดเอกสาร
การถอดบทเรียนการดำเนินงานนวัตกรรมในชุมชน
ศูนย์เรียนรู้เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ชุมชนชลประทาน